เครื่องวัดความชื้น หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของระบบอุตสาหกรรม
เครื่องวัดความชื้น เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มักใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรม ฉะนั้น คนส่วนใหญ่จึงไม่คุ้นหู ไม่คุ้นตา และไม่คุ้นชื่อกับเจ้าเครื่องนี้นัก ฉะนั้น บทความนี้ เราจึงอยากพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับเจ้าเครื่องวัดความชื้นนี้กัน ว่าคืออะไร มีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีการใช้งานอย่างไร ซึ่งข้อมูลต่อจากนี้ อาจเป็นเชิงวิชาการนิดหน่อย อย่าเพิ่งเบื่อกันล่ะ เพราะความรู้แฝงอยู่ในนี้อีกเพียบ!
ทำความรู้จักกับ เครื่องวัดความชื้น ในระบบอุตสาหกรรม
เครื่องวัดความชื้น หรือ Moisture meter คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดค่าเปอร์เซ็นต์ของน้ำในวัตถุ ซึ่งค่าของเครื่องวัดความชื้นจะถูกเปรียบเทียบกับไม้ โดยค่าของความชื้นไม้จะอยู่ในช่วง 5 ถึง 40% เมื่อเรานำเครื่องวัดความชื้นไปวัดหรือทดสอบกับวัสดุอื่นๆ เช่น คอนกรีต ค่าของความชื้นจะอยู่ในช่วง 0 ถึง 100% โดยค่า 0 คือวัสดุที่แห้งปราศจากความชื้น และค่า 100% คือวัสดุที่เปียกน้ำ เครื่องวัดความชื้นบางประเภทอาจแสดงสัญลักษณ์สีเขียว (แห้ง), สีเหลือง (ความชื้นปานกลาง), และสีแดง (ความชื้นสูง) เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานทราบค่าที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ ค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นที่ได้จะเป็นตัวกำหนดว่าวัตถุนั้นพร้อมที่จะใช้งานได้หรือไม่ และเพื่อป้องกันเหตุที่ไม่คาดฝัน เช่น วัสดุมีความแห้งหรือเปียกจนเกินไปนั่นเอง
ประเภทของเครื่องวัดความชื้น
- เครื่องวัดความชื้นแบบเข็ม
เครื่องวัดความชื้นแบบเข็ม จะใช้วิธีวัดค่าความชื้น (%MC) ที่ปลายของเข็ม ซึ่งเครื่องมือวัดประเภทนี้จะมีเข็ม 2 เข็มเจาะลงไปในพื้นผิวของวัตถุ การอ่านค่าความชื้น (%MC) จะได้จากการวัดความต้านทานไฟฟ้าระหว่างปลายเข็มทั้งสอง ซึ่งวิธีการวัดโดยใช้เข็มเจาะอาจจะทำให้พื้นผิวของวัสดุที่ต้องการวัดเสียหายได้ - เครื่องวัดความชื้นแบบไร้เข็ม
เครื่องวัดความชื้นแบบไร้เข็ม เครื่องมือวัดประเภทนี้จะไม่ทำลายพื้นผิวของวัตถุ เช่น ไม้ คอนกรีต ยิปซั่ม ซึ่งค่าความชื้น (%MC) ที่ได้จะเหมือนกับแบบเข็ม โดยช่วงการวัดความชื้นไม้ คือ 5 ถึง 30%MC และช่วงการวัดวัตถุอื่นๆ คือ 0 ถึง 100%MC - เครื่องวัดความชื้นแบบเข็มและไร้เข็ม (2 IN 1)
เครื่องวัดความชื้นแบบเข็มและไร้เข็ม (2 IN 1) เป็นเครื่องมือวัดความชื้นที่รวมเอาแบบเข็มและแบบไร้เข็มไว้ในเครื่องเดียวกัน เพื่อให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์การใช้งานของผู้ใช้มากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ จากที่เราได้เกริ่นไปนิดนึงแล้ว สำหรับในส่วนของข้อ 1 และข้อ 2 ที่มีทั้งเครื่องวัดความชื้นแบบทำลายพื้นผิว และแบบไม่ทำลายพื้นผิว ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้จะมีเทคโนโลยีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- เครื่องวัดความชื้นแบบทำลายพื้นผิว (Pin Moisture Meter) ด้วยเทคโนโลยี Resistance Technology
เครื่องวัดความชื้นแบบทำลายพื้นผิว (Pin Moisture Meter) จะใช้หลักการทำงานที่เรียกว่า Electrical Resistance ซึ่งเราจะสามารถทราบค่าความชื้นได้โดยการทิ่มโพรบคู่เข้าไปในวัสดุ จากนั้นจะเกิดกระแสไฟฟ้าน้อยๆ วิ่งผ่านไปมาระหว่างโพรบคู่ เนื่องจากภายในเนื้อวัสดุมีความชื้นเป็นองค์ประกอบและความชื้นก็ทำหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีส่งผลให้เกิดความต้านทานขึ้น ซึ่งค่าความต้านทานนี้ก็จะแปรผันไปตามปริมาณความชื้น นั่นก็คือ ความต้านทานสูง ปริมาณความชื้นต่ำ และความต้านทานต่ำ ปริมาณความชื้นสูง อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้จะให้ค่าความแม่นยำที่แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติทางเคมีของวัสดุนั่นเอง - เครื่องวัดความชื้นแบบไม่ทำลายพื้นผิว (Pinless Moisture Meter) ด้วยเทคโนโลยี Electromagnetic Wave Technology
เครื่องวัดความชื้นแบบไม่ทำลายพื้นผิว (Pinless Moisture Meter) จะใช้หลักการทำงานที่เรียกว่า Electromagnetic Wave Technology การวัดความชื้นแบบไม่ทำลายพื้นผิวนี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ซึ่งเราจะสามารถทราบค่าความชื้นได้โดยไม่ต้องเจาะ หรือทำลายเนื้อวัสดุชิ้นงาน เพราะเซนเซอร์จากเครื่องวัดความชื้นแบบไม่ทำลายพื้นผิว (Pinless Moisture Meter) จะทำการส่งคลื่นสัญญาณทางไฟฟ้า เพื่อทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นในบริเวณผิววัสดุที่อยู่ภายใต้เซนเซอร์ และทำการสแกนพื้นผิววัสดุเพื่อให้ได้ค่าประมวลผลปริมาณความชื้น ( Moisture Content ) ซึ่งแปรผันตามค่าความชื้นอากาศสัมพัทธ์ หรือเรียกว่า ค่าเปอร์มิตติวิตี้สัมพัทธ์ ซึ่งเป็นการบอกสภาพความทนทานของวัสดุในสภาพแวดล้อมด้วย
เครื่องวัดความชื้น ที่ดีที่สุดในขณะนี้
ทาง ASSC ขอแนะนำเครื่องวัดความชื้น ที่มีเทคโนโลยีดีเยี่ยมแตกต่างจากที่อื่น โดยใช้เทคโนโลยี TDL หรือ Tunable Diode Laser นั่นเอง ซึ่งเทคโนโลยี TDL นี้ จะมีความสามารถในการปรับความยาวคลื่นได้ โดยไม่ต้องมีการปรับตำแหน่ง เพราะแหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์และเครื่องตรวจจับจะอยู่ในชุดเดียวกันนั่นเอง
หรืออธิบายให้เห็นภาพอย่างง่ายๆ ก็คือ ที่ปลายด้านหนึ่งของเซ็นเซอร์ และลำแสงเลเซอร์จะสะท้อนกลับโดยกระจกสามด้านไปยังเครื่องตรวจจับ ดังนั้น จึงไม่ต้องมีการปรับตำแหน่งให้ยุ่งยากแต่อย่างใด อีกทั้งเทคโนโลยี TDL นี้ ยังสามารถปรับใช้กับกระบวนการทำงานได้หลากหลายอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม หากท่านใดที่มีโรงงาน หรือมีความสนใจเครื่องวัดความชื้น ก็สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดสินค้าโดยตรงได้ที่เว็บ www.assc.co.th ทั้งนี้ทางบริษัทฯมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาและช่วยวิเคราะห์ ออกแบบระบบ ให้เหมาะสมตรงตามความต้องการของลูกค้าและลักษณะโรงงาน